แอปพลิเคชัน หรือ แอพพลิเคชัน เขียนยังไงกันแน่

Application หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า “โปรแกรมประยุกต์” เป็นหนึ่งในคำทับศัพท์ไทยที่น่าสับสนมากที่สุดในแง่การสะกดคำ เพราะเว็บไซต์และบริษัทหลายแห่งต่างเลือกใช้ไม่เหมือนกัน และแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง แอปเปิล ก็มีการใช้ทั้งคำว่า แอปพลิเคชัน และ แอพพลิเคชัน

คุณไม่ใช่คนเดียวที่พยายามหาคำตอบที่ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิต ซึ่งคำตอบที่ถูกต้อง คือ “แอปพลิเคชัน” เพราะตามตารางเทียบเสียงภาษาอังกฤษกับพยัญชนะไทย

กฎของการเขียนคำที่มาจากภาษาอังกฤษของราชบัณฑิตไทย กำหนดว่าตัว P นั้นให้ใช้ ป.ปลา แทนเสียงเมื่อ P ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด (เช่น Apple = แอปเพิล ให้ใช้ ป.ปลา แทนเสียง) และใช้ พ.พาน ในกรณีอื่น โดยให้ตัวอย่างของตัว P ไว้ว่า

พ parabola = พาราโบลา  ป capsule = แคปซูล

 

ส่วน หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ฉบับแก้ไข 4 ต.ค. 2561 สามารถเข้าไปอ่านได้ที่นี่


รีวิวแนะนำ


แต่เอาจริง ๆ แล้วเราคิดว่าจะใช้แบบไหนก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ และประเทศไทยอาจเป็นประเทศเดียวในโลกที่จัดตั้งสถาบันอย่างราชบัณฑิตสถาน ให้เป็นผู้ชี้ถูกผิดด้านภาษา

นอกจากนี้ ราชบัณฑิตเองยังเคยกำหนดความหมายที่แปลมาจากภาษาอื่นอย่างผิด ๆ เช่น ในพจนานุกรมฉบับปี พ.ศ. 2544 2548 และ 2549 คำว่า activist เคยระบุว่า คือ “นักปฏิบัติการหัวรุนแรง” ก่อนจะถูกเปลี่ยนเป็น “นักปฏิบัติการเชิงรุก” ทั้งที่คนส่วนใหญ่ล้วนเข้าใจว่า activist นั้นก็คือ “ผู้ทำกิจกรรม” หรือ “นักกิจกรรม”

แต่เราจะสนใจไปทำไมว่าราชบัณฑิตคิดว่าอะไรผิดอะไรถูก เพราะภาษาไทยก็ไม่ได้เป็นของคนที่เรียกตัวเองว่าเป็น “ผู้มีปัญญา” เท่านั้น และถ้าเราพอใจจะอยากจะเขียนว่า แอฟพลิเครชั่น ก็เขียนมันไปเถอะครับ