ประวัติของ อิโมจิ (emoji) ที่คุณอาจไม่เคยรู้

นับตั้งแต่เทคโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย และทำให้การติดต่อสื่อสารหากันเป็นเรื่องง่ายขึ้นผ่านการส่งข้อความและอีเมล มนุษย์ได้พัฒนาการสื่อความหมายที่แสดงถึงอารมณ์และภาษากายในรูปแบบ อิโมจิ และ อิโมติดค่อน ในบล็อกโพสต์นี้เรามาย้อนดู ประวัติของ Emoji และ Emoticon แบบสั้น ๆ กัน

Emoticon นั้นเกิดขึ้นก่อน Emoji โดยเกิดจากการประกอบสัญลักษณ์ ตัวอักษร และตัวเลข เข้าด้วยกันเพื่อสร้างรูปแสดงอารมณ์ต่าง ๆ เช่น หน้ายิ้ม 🙂 หน้าบึ้ง 🙁 หน้าตกใจ 😮 ไปจนถึงแบบที่ซับซ้อนกว่า เช่น หน้าแมว (=^·^=) หรือช่อกุหลาบ @};-@}‑;‑’‑>‑‑ เป็นต้น

ประวัติของ อิโมจิ

ต่างจาก Emoticon ที่เป็ฯการนำตัวอักษรมาประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ Emoji เป็นรูปภาพขนาดเล็กหลายหลายรูปแบบ ที่ผู้ใช้งานสามารถส่งถึงกันแทนตัวอักษรได้ เช่น เจ้า smiley หน้ายิ้มสีเหลืองที่หลายคนคุ้นเคย

ย้อนไปเมื่อไป 1999 ชิเกทากะ คุริตะ ผู้มีอาชีพ Interface Designer ของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์แห่งหนึ่งโทรศัพท์ในญี่ปุ่นเป็นผู้คิดค้นอิโมจิขึ้นเป็นคนแรก โดยออกแบบอิโมจิขึ้นมาทั้งหมด 176 แบบด้วยกัน

เขากล่าวว่าเขาคิดค้น Emoji ขึ้น เพื่อช่วยให้การสื่อสารทางโทรศัพท์มือถือนั้นง่ายขึ้นอย่างไรก็ตาม บทความของบีบีซีระบุว่า คุริตะเคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาไม่ชอบหน้าตาของ อิโมจิ เหล่านั้นเลยเพราะพวกมันมีหน้าตาที่ออกจะดูเป็นเหลี่ยม ๆ

ประวัติของ อิโมติดค่อน

ต้นกำเนิดของ Emoticon นั้นต้องย้อนกลับไปนานกว่า 30 ปี เมื่อปี 1982 เมื่อมีคนคิดพิเรนทร์เขียนข้อความบนเว็บบอร์ดของมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) ในรัฐเพนซิลเวเนีย ของสหรัฐฯ ว่ามีสารปรอทรั่วในบริเวณมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดความแตกตื่นและสับสนว่าข้อความไหนเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องล้อเล่นบนเว็บบอร์ดนั้น

ดร. สก็อต อี. ฟาห์ลแมน ซึ่งเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ณ เวลานั้น จึงเสนอแนวคิดให้ทำสัญลักษณ์ 🙂 สำหรับเรื่องจริง และ 🙁 สำหรับเรื่องโกหก เอาไว้บนเว็บบอร์ด ก่อนที่มันจะเริ่มกลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกจนทุกวันนี้


รีวิวแนะนำ


Emoji ในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ อิโมจิมีหน้าตาเปลี่ยนไปมาก Emoji ที่ใช้กันเป็นสากลอยู่ทุกวันนี้มีเรียกว่าเป็น Version 11 มีและมีมากกว่า 2,700 รูปแบบ โดยมีองค์กรที่ชื่อว่า Unicode Consortium เป็นผู้กำกับดูแล นอกจากนี้เรายังสามารถเช็ค emoji ที่เพิ่งออกใหม่ล่าสุดได้จากเว็บไซต์ Emojipedia (บางทีอาจมี emoji แปลก ๆ ที่เราต้องการอยู่แล้วก็ได้)

สมาร์ทโฟนของคุณไม่ว่าจะเป็นไอโฟน หรือแอนดรอยด์ ต่างก็มาพร้อมกับ Emoji ที่มีให้เลือกใช้จำนวนหลายพันแบบ และถ้ายังไม่เจออิโมจิที่ถูกใจก็ยังสามารถสร้าง Emoji ส่วนตัวไว้ใช้เองได้ด้วยแอปต่าง ๆ

นอกจากนี้ ถ้าคุณมั่นใจในฝีมือและต้องการให้ emoji ของคุณกลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวอักษรมาตรฐานสากล คุณสามารถยื่นคำร้องไปยัง Unicode Consortium เพื่อรับการพิจารณา แต่ต้องบอกก่อนว่ากระบวนการนี้ซับซ้อนและอาจกินเวลาหลายปีเลยด้วย

3 เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับอิโมจิ

  1. ในปี 2017 มนุษย์ส่งอิโมจิถึงกันราว 6 พันล้านรูปต่อวัน
  2. อิโมจิส่วนใหญ่ถูกใช้แสดงอารมณ์ในแง่บวก (ราว 70% เป็นหน้ายิ้มและหัวใจ)
  3. คนในแต่ละประเทศใช้อิโมจิแตกต่างกันไป เช่น แคนาดาเป็นชาติใช้อิโมจิรูปอึมากที่สุด ขณะที่ชาวอังกฤษใช้รูปเบียร์มากกว่าชาติส่วนใหญ่

ที่มา: บีบีซีไทย