รู้หรือไม่ว่า นอกจากจะค้นหาข้อมูลบน Google ด้วยข้อความหรือคีย์เวิร์ดที่เราต้องการแล้ว เรายังสามารถค้นหาด้วยรูปภาพเพื่อหาข้อมูลหรือรูปที่คล้ายกันได้อีกด้วย มาดูกันว่า วิธีค้นหาด้วยรูปภาพบนมือถือและเดสก์ท็อป นั้นทำอย่างไร
การค้นหาด้วยภาพนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น การตรวจสอบภาพตัดต่อ เช็กข่าวปลอม หรือ ค้นหาที่มาของภาพเก่าจากในอดีต โดยที่ Google จะนำภาพที่เราต้องการใช้ค้นหา ไปเปรียบเทียบกับรูปที่ Google เก็บข้อมูลไว้จากเว็บไซต์ทั่วโลก และเลือกหารูปที่เหมือนหรือคล้ายกันมาแสดงผลให้เราดู
วิธีค้นหาด้วยรูปภาพ
วิธีค้นหาด้วยรูปภาพ ผ่าน Google Image Search บนเดสก์ท็อป มีขั้นตอนดังนี้
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://images.google.com
- คลิกที่รูปกล้องถ่ายรูป
- ระบบจะแสดงหน้าตาเพื่อให้เลือกว่าจะค้นหาด้วยการวาง URL ของรูปภาพ หรือ อัปโหลดไฟล์รูป
- กรอก URL หรือ เลือกรูปที่ต้องการ แล้วคลิกที่ปุ่ม ค้นด้วยภาพ
- Google Image Search จะแสดงผลการค้นหาให้เราโดยอัตโนมัติ
สำหรับผู้ที่ใช้เบราว์เซอร์ Chrome สามารถคลิกขวาที่รูปที่ต้องการใช้ค้นหา แล้วกด Search Google for Image ได้ทันทีอีกด้วย
วิธีใช้ Google Image Search บนมือถือ
- เข้าไปที่หน้าเว็บ https://images.google.com
- จะเห็นว่ามีช่องให้ใส่ URL แต่ไม่มีเครื่องหมายกล้องถ่ายรูป
- สำหรับคนที่ต้องการอัปโหลดภาพ ให้กดที่ปุ่มตั้งค่าของเบราว์เซอร์
- เลือกไปที่ Request Desktop Site หรือ Show Desktop Site เพื่อเปลี่ยนการแสดงผล
- Google Image Search จะโหลดหน้าเว็บขึ้นมาใหม่ พร้อมกับสัญลักษณ์กล้องถ่ายรูปเหมือนบนเดสก์ทอป
- จากนั้นคุณก็สามารถอัปโหลดรูป และค้นหาได้ตามปกติ
เรายังสามารถโหลดแอป Google บนมือถือสำหรับทั้งแอนดรอยด์ และ iOS ซึ่งจะสามารถค้นหาด้วยรูปภาพด้วยการอัปโหลดรูปจากแกลเลอรี่ได้ทันที โดยไม่ต้องเข้าผ่านเบราว์เซอร์
- ซื้อโทรศัพท์มือถือใน Lazada ดีไหม ทำไมจึงราคาถูก
- ซิมเทพ ดีไหม ค่ายไหนดี เปรียบเทียบโปรทุกค่าย
- เครื่องวัดความดัน ยี่ห้อไหนดี ซื้อ Omron รุ่นไหนดี
การใช้ Reverse Image Search เพื่อตรวจสอบที่มาของรูปภาพ
หนึ่งในเทคนิคที่นักข่าวทั่วโลกใช้กันเพื่อตรวจสอบข่าวปลอม คือ การตรวจสอบที่มาของรูปถ่ายว่าเป็นภาพที่ตรงกับในข่าวจริงหรือไม่ หรือเป็นการนำรูปเก่าจากเหตุการณ์อื่นในอดีตมาสร้างเรื่องหลอกลวง
นอกจาก Google Image Search อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปถ่าย คือ Tineye ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเช่นเดียวกัน โดยวิธีใช้งานก็คล้ายกัน คือ เข้าไปที่เว็บไซต์ tineye.com และอัปโหลดรูปหรือใส่ URL ไฟล์รูปที่ต้องการตรวจสอบ
สำหรับผู้ต้องการตรวจสอบในขั้นสูงขึ้นไปอีก เรายังสามารถตรวจสอบต้นตอที่มาของวิดีโอด้วยเครื่องมืออย่าง InVID Verification ซึ่งเป็นส่วนขยายของเบราว์เซอร์ Chrome และ Firefox ที่สำนักข่าว AFP ร่วมผลิตขึ้นโดยจะแบ่งวิดีโอออกเป็น frame ย่อยๆ และค้นหารูปที่มาว่าวิดีโอดังกล่าวเคยถูกโพสต์ที่ไหนมาก่อนแล้วบ้าง
เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกที่นี่
แนะนำดีลที่คุ้มที่สุด แจ้งเตือนเดือนละครั้ง