“ผ้าฝ้ายซินเจียง” กลายเป็นประเด็นถกเถียงใหญ่ในโลกธุรกิจและสังคมโลก หลังจากแบรนด์สินค้าชั้นนำหลายแห่งได้แสดงความกังวลต่อรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสากรรมผลิตฝ้ายในพื้นที่ซินเจียง หลังมีรายงานถึงการบังคับใช้แรงงานชาวมุสลิมอุยกูร์ในพื้นที่ดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ องค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่งทั่วโลกได้กล่าวหาว่าจีนนั้นมีส่วนรู้เห็นต่อการละเมิดสิทธิชาวมุสลิมอุยกูร์ในพื้นที่ซินเจียง ซึ่งเป็นเขตปกครองตนเองทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน รวมถึงการซ้อมทรมานและบังคับใช้แรงงาน ขณะที่จีนปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด โดยระบุว่าจีนเพียงแค่ฝึกอาชีพให้กับชาวอุยกูร์เท่านั้น
หลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สหภาพยุโรป สหรัฐฯ อังกฤษ และแคนาดา ได้เริ่มบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อเจ้าหน้าที่จีนที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ซินเจียง รัฐบาลจีนก็ได้ตอบโต้ด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจแบบตาต่อตาฟันต่อฟันด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งนี้ครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาลเท่านั้น ในภาคธุรกิจเอง ประเด็นที่ว่านี้ก็ได้กลายเป็นข้อถกเถียงซึ่งนำมาสู่การรณรงค์ให้แบนสินค้าแบรนด์ดังในประเทศจีน
- สำลี ยี่ห้อและรุ่นไหนดีที่สุด สำหรับใช้เช็ดโทนเนอร์
- Lazada ลดราคาวันไหน โปรโมชั่นลาซาด้า
- ซื้อโน๊ตบุ๊ค ออนไลน์ ที่ไหนดี
ตัวอย่างที่ชัดที่สุด คือ กรณีของ H&M ซึ่งชาวเน็ตจีนไปขุดเอาแถลงการณ์เก่าเมื่อปีที่แล้ว ที่บริษัทได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับรายงานที่กล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและบังคับใช้แรงงานในพื้นที่ซินเจียง รวมทั้งยืนยันว่า H&M ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าจากซินเจียงแต่อย่างใด
นอกจาก H&M แล้วยังมีแบรนด์ดังจากทั่วโลก อย่าง อาทิ อาดิดาส และไนกี้ ที่ได้ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลเกี่ยวกับรายงานเรื่องเดียวกันนี้ ซึ่งท่าทีดังกล่าวทำให้เกิดกระแสต่อต้านฝ้ายจากซินเจียงในหลายภูมิภาค โดยในประเทศไทยเอง ก็เกิดกระแสแบนสินค้าของมูจิ (Muji) ในทวิตเตอร์ เนื่องจากมูจินั้นเลือกที่จะโปรโมทสินค้าที่ใช้ฝ้ายซินเจียงต่อไป สวนกระแสแบรนด์ใหญ่ในโลกตะวันตก
ขณะที่ทางฝั่งโซเชียลมีเดียของจีน ชาวเน็ตหลายคน (อาจด้วยความคลั่งชาติ) ได้ออกมาโจมตีและรณรงค์ให้คว่ำบาตรแบรนด์เหล่านี้เป็นการตอบโต้ โดยให้เหตุผลว่าการที่แบรนด์เหล่านี้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการบังคับใช้แรงงานในมณฑลซินเจียง นั้นทำให้จีนเสียชื่อเสียง
เป็นที่น่าจับตาว่าข้อขัดแย้งครั้งนี้จะลุกลามไปไกลแค่ไหน และจะส่งผลต่ออนาคตของแบรนด์ดังในตลาดจีนอย่างไร ส่วนในประเทศไทยนั้นอาจถือเป็นโอกาสดีที่ผู้บริโภคจะได้หันมาสนใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของแรงงานในห่วงโซ่การผลิตมากขึ้นด้วยเช่นกัน
เพิ่มเราเป็นเพื่อน คลิกที่นี่
แนะนำดีลที่คุ้มที่สุด แจ้งเตือนเดือนละครั้ง